Saturday, April 25, 2009

ส่วนประกอบของผิวหนัง

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีพื้นผิวมากที่สุดในร่างกายและทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกายไว้ มีหน้าที่ที่สำคัญคือ

1. ห่อหุ้มร่างกายให้คงรูปร่างอยู่ได้
2. ป้องกันอันตรายต่างๆจากสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง, ความแห้ง-ชื้น และเชื้อโรคต่างๆ
3. ควบคุมอุณหภูมิ โดยการทำงานของต่อมเหงื่อและรูขุมขน
4. รับความรู้สึกต่างๆ เช่น ความเจ็บปวด, ร้อนหนาว, รับน้ำหนักกดทับ เป็นต้น
5. รับรู้และต่อต้านสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกด้วยระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิวหนัง

http://www.mozaikskin.com/images/index.jpghttp://www.instablogsimages.com/images/2007/09/27/glowing-skin_5248.jpg

ส่วนประกอบของผิวหนัง (โครงสร้างของผิวหนัง)

ผิวหนังประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
2. ชั้นหนังแท้ (Dermis)

ส่วนชั้นที่อยู่ลึกลงมาเป็นชั้นใต้ผิวหนังซึ่งเป็นชั้นไขมัน (Subcutaneous tissue, Subcutis,
Panniculus) ผิวหนังทุกที่จะประกอบด้วยชั้นต่างๆ เหมือนกันแต่อาจมีความแตกต่างกันด้าน
ความหนาบาง เช่น ชั้นหนังกำพร้าจะหนาที่สุดที่ฝ่ามือฝ่าเท้าประมาณ 1.5 ม.ม. ขณะที่เปลือก
ตาหนาประมาณ 0.1 ม.ม. ขึ้นหนังแท้หนาที่สุดที่หลัง และขั้นไขมันจะมีมากที่หน้าท้องและก้น

http://content.revolutionhealth.com/contentimages/images-image_popup-skin_type.jpg

1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
เป็นชั้นผิวหนังที่อยู่นอกสุดและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง ผิวชั้นหนังกำพร้าเกิดจากเซลล์
ชั้นเดียวซึ่งแบ่งตัวหนาขึ้นเกิดเป็นเซลล์ผิวหนัง(Keratonocyte) และ Epidermal Appendages
(Adnexal Structures) เช่นขุมขน, ต่อมเหงื่อ,ต่อมไขมันเป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ

1.1 เซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte) หรือ Squamous cell เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างสาร Keratin
ซึ่งเป็น complex filamentous protien ทำหน้าที่ปกคลุมผิวหน้าของผิวหนังเป็นชั้นขี้ไคล้
(stratum corneum) ซึ่งจะหลุดอกไปในที่สุดและเป็นโปรตีนของเส้นขนและเล็บด้วย เซลล์
ผิวหนังอาจแบ่งได้เป็น 4 ชั้น จากชั้นลึกที่สุดคือ basal layer, malpighian or prickle layer,
granular layer, horny layer or stratum corneum โดยเซลล์ผิวหนังจะแบ่งตัวจากชั้น basal
layer ซึ่งเป็นเซลล์ชั้นเดียวขึ้นไปเป็นเซลล์ที่อยู่ชั้นตื้นขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและ
ขนาดของเซลล์จนในที่สุดจะเป็นเซลล์ชั้นขี้ไคล้และหลุดลอกออกไปในที่สุด

skin3

1.2 Epidermal Appendages (Adnexal Structures) เป็นอวัยวะที่งอกมาจากเซลล์ชั้นหนัง
กำพร้าลึกลงมาในผิวหนังชั้นหนังแท้ ประกอบด้วย

1.2.1 หน่วยต่อมเหงื่อ (Eccrine Sweat Unit)
1.2.2 หน่วยต่อมอโปคราย (Apocrine Unit)
1.2.3 ขุมขน (Hair Follicle)
1.2.4 หน่วยต่อมน้ำมัน หรือต่อมน้ำมัน (Sebaceous Gland Unit)

skin4

1.3 เซลล์อื่นๆ ในผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ที่สำคัญ เช่น

1.3.1 Melanocyte เป็นเซลล์สร้างเม็ดสี
1.3.2 Langerhans Cell เป็นเซลล์ในระบบภูมิต้านทานที่ผิวหนัง

2. ชั้นหนังแท้ (Dermis)
ชั้นหนังแท้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเส้นใยคือ collagen fibers, elastic fibers และ reticulum
fibers ซึ่งเส้นใยจะมีลักษณะละเอียดและอยู่กันแบบหลวมๆในชั้นบนที่อยู่ชิดกับชั้นหนังกำพร้า
เรียกว่าชั้น papillary dermisส่วนในชั้นลึกเส้นใยมีลักษณะหยาบกว่าและอยู่กันอย่างหนาแน่น
เรียกว่าชั้น reticular dermis เส้นใยดังกล่าวจะวางตัวอยู่ในสารพื้นฐาน(Ground substance) ซึ่ง
ประกอบด้วย acid mucopolysaccharide พวก hyaluronic acid, chondroitin sulfate,dermatan
sulfate, neutral mucopolysaccharides และ electrolytes
นอกจากนั้นในชั้นหนังแท้ยังมีเส้นเลือด,กล้ามเนื้อ, เส้นประสาทและปุ่มประสาทพิเศษที่รับ
ความรู้สึกต่างๆ เช่น รับความรู้สึกสัมผัสความกดดัน ความร้อน ความเย็น เป็นต้น และในชั้นหนัง
แท้ยังมี Mast cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มี granules ที่บรรจุด้วยสารหลายชนิดเช่น heparin, histamine,
neutrophil chemotactic factor, eosinophil chemotactic factor of anaphylaxis และ kinin เป็นต้น

skin5

3. ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutis)
ชั้นลึกลงมาจากชั้นหนังแท้จะเป็นชั้นไขมันใต้ผิวหนังซึ่งจะแบ่งโดยผนังกั้นบางๆซึ่งประกอบ
ด้วยเส้นใยcollagen และเส้นเลือด ทำให้ไขมันมีลักษณะเป็นกลุ่มๆ (lobules) ชั้นนี้เป็นส่วนรอง
รับผิวหนังให้คงรูปร่างรับแรงกระแทก และสะสมพลังงานแก่ร่างกาย

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ โดย นายแพทย์วิโรจน์ สินธวานนท์

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO