Saturday, October 17, 2009

ปริมาณพลังงานจากอาหารที่แนะนำให้บริโภคสำหรับวัยผู้ใหญ่

วัยผู้ใหญ่ (adulthood) หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป วัยนี้ร่างกายจะมีการสร้างเพื่อการเจริญเติบโตน้อยลงแต่มีการสร้างเซลล์ ต่างๆ เพื่อรักษาสมรรถภาพการทำงานในร่างกายให้คงที่ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยทุกวัน ซึ่งมีผลทำให้อัตราการทำงานของอวัยวะภายในลดลง การ เปลี่ยนแปลงจะมากน้อย ช้าเร็วขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการ และการดำเนินชีวิตของบุคคลนั้นๆ ถ้าเป็นผู้มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง มีสภาวะแวดล้อมที่ดี ไม่เครียด การเปลี่ยนแปลงของเซลล์จะเกิดขึ้นช้า ในทางกลับกันถ้ามีภาวะโภชนาการไม่ดี มีความเครียด การเปลี่ยนแปลงของเซลล์จะเกิดอย่างรวดเร็ว ผู้มีภาวะโภชนาการดีจะมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และเป็นผู้มีอายุขัยยืนยาว

http://img207.imageshack.us/img207/7868/thuapril200722525psu048.jpghttp://img75.imageshack.us/img75/3700/d36480755828077345.jpg

ปัญหาโภชนาการที่พบในวัยผู้ใหญ่ ปัญหาโภชนาการที่มักพบในวัยผู้ใหญ่ คือ น้ำหนักร่างกายเกินมาตรฐาน และโรคอ้วน ส่วนโรคผอม หรือผู้ที่มีน้ำหนักร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานพบน้อย เนื่องจากในวัยนี้มักมีกิจกรรมที่ต้องออกแรงหรือใช้พลังงานลดลง ระยะนี้บางคนอาจเป็นผู้บริหารลักษณะของการทำงานจะเป็นการนั่งอยู่กับที่ มากกว่าการเคลื่อนไหวร่างกาย ดังนั้นความต้องการใช้พลังงานในแต่ละวันจะลดลง แต่ยังคงบริโภคอาหารในปริมาณเท่าเดิม ทำให้สมดุลของพลังงานในร่างกายเป็นบวก มีการเก็บสะสมสารอาหารที่ให้พลังงานในรูปไขมันมากขึ้น และก้าวเข้าสู่ภาวะน้ำหนักร่างกายเกินมาตรฐาน เป็นโรคอ้วน และเกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

ความต้องการพลังงานของวัยผู้ใหญ่ การหาปริมาณความต้องการใช้พลังงานของวัยผู้ใหญ่ มีวิธีการ ดังนี้

1. การ คำนวณจากกิจกรรม หรืองานที่ทำประจำในแต่ละวันว่าเป็นงานประเภทใด เช่น งานเบา งานปานกลาง หรืองานหนัก หรืออาจใช้วิธีการคำนวณโดยละเอียด คือ คำนวณค่าพลังงานพื้นฐาน พลังงานเพื่อการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และพลังงานสำหรับการทำกิจกรรมภายนอกร่างกาย

ข้อดีของการคำนวณ คือ ทำให้ทราบปริมาณความต้องการพลังงานของตนเอง ถ้าใช้ปริมาณพลังงานจากตารางที่ 3.2 ตัว เลขที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ยสำหรับคนไทยที่มีสุขภาพดีเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 97-98) ของแต่ละเพศ อายุ และวัย หรือภาวะทางสรีรวิทยา เช่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ซึ่งไม่ใช่ค่าที่แท้จริงเฉพาะบุคคล

ข้อเสียของการคำนวณ คือ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการคำนวณ เสียเวลา และต้องมีเครื่องมือช่วยในการคำนวณ


2. ใช้จำนวนพลังงานตามปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ปี พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดให้คนไทยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุได้รับพลังงานจากอาหารที่บริโภคต่อวัน ตารางที่ 3.2


ข้อดี สะดวกเพราะอาจเสียเวลาดูเพียงครั้งเดียวก็สามารถจำได้ และใช้ในชีวิตประจำวันง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการคำนวณ

ข้อเสีย ไม่ใช่ปริมาณพลังงานที่เป็นของตนเอง เพราะตัวเลขที่แนะนำในตารางที่ 3.2 เป็นตัวเลขที่ได้จากค่าเฉลี่ยของประชากรทั้งประเทศ

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO