Tuesday, October 13, 2009

ออกกำลังกายรักษาหัวใจ

การ จัดกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม และการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ต่อผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยารับประทาน การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด หรือ ได้รับการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งมีความเปลี่ยน แปลงทางกายจากความเสื่อม ซึ่งจากการออกกำลังกายสามารถชะลอความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ รวมทั้งหัวใจ ปอด และหลอดเลือด และยังช่วยให้ร่างกายคล่องตัว ช่วยในการทรงตัวให้ดีขึ้น ป้องกันการหกล้ม ช่วยควบคุมความดันโลหิต ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ลดความ เครียดและยังทำให้สมรรถภาพทางเพศ ดีขึ้น

เพื่อ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดและปลอด ภัย ผู้ที่ออกกำลังกายต้องมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องและรู้จัก เลือกประเภทของการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง โดยการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพและหัวใจแข็งแรงมากขึ้น ก็คือการออกกำลังแบบแอโรบิก เช่น การเดิน การว่ายน้ำ การถีบจักรยาน ที่ทำอย่างต่อเนื่องกันอย่างน้อย 20-30 นาที
http://img67.imageshack.us/img67/7366/277932652863266909.jpghttp://i42.photobucket.com/albums/e341/prang_n/takeawalk.jpg
1.การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ก่อน การออกกำลังกายทุกครั้งให้เริ่มด้วยการเหยียด ยืดเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่างๆ ต่อมาจึงเริ่มเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ ตามด้วยการออก กำลังกายประเภทนั้นๆ ในระดับความแรงต่ำก่อนที่จะค่อยๆ เพิ่มความแรงของการออกกำลังกาย จนถึงระดับที่ต้องการ เช่น เดินช้าๆ ก่อนแล้วค่อยเร็วขึ้นจนกลายเป็นวิ่ง สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและปอด เพื่อป้องกันปัญหาเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ

2.ระยะของการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง (Work Out) ให้ เพิ่มความแรงของการออกกำลังกายจนถึงระดับที่เหมาะสม 20-60 นาที ด้วยระดับเบาถึงปานกลาง โดยความหนักที่เหมาะสมคือให้ออกกำลังจนรู้สึกเหนื่อย พอสมควร สำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลังกาย ในระยะแรกไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก ให้เริ่มเบาๆ ก่อนให้รู้สึกเริ่มเหนื่อยพอสมควร จน ทำได้ต่อเนื่อง 30 นาที แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความแรงจนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างน้อย 3 สัปดาห์หรือวันเว้นวัน

3.การชะลอหรือเบาเครื่อง (Cool down) หลัง จากออกกำลังกายต่อเนื่องจนครบตามเวลา/เป้าหมาย ก็ค่อยๆ ลดความแรงของการออกกำลังกายลงช้าๆ ก่อนหยุด เช่น เปลี่ยนจากวิ่งเป็นการเดินเร็ว แล้วเดินช้าลงๆ จนหยุด สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจควรใช้เวลาประมาณ 10 นาที และตามด้วยการเหยียดยืดเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่างๆ เหมือนกับช่วงอุ่นเครื่อง (Warm-up) จะ ป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ เลือดไปเลี้ยงสมอง ลดลงหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากการคลั่งของเลือดบริเวณกล้ามเนื้อ และลดปัญหาปวดเมื่อย หรือบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

สำหรับ ท่านที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ข้อเสื่อม ฯลฯ ควรปรึกษา แพทย์ ก่อนเริ่มการออกกำลังกายด้วยตนเอง นอกจากนี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปและผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกาย เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการออกกำลังกาย


ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO