Sunday, October 11, 2009

การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง ( Intradermal injection )

จุดประสงค์
• ทดสอบภูมิแพ้ ภูมิต้านทานโรค
• ให้ภูมิคุ้มกันโรค
• ให้ยาชาเฉพาะที่

เครื่องใช้
1. บันทึกการให้ยาผู้ป่วย หรือการ์ดยา และคำสั่งการรักษา
2. ยา
3. เข็มปลอดเชื้อ มักใช้เบอร์ 24 ความยาว 3/8-5/8 นิ้ว
4. กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ มักใช้ขนาด 1 มล. หรือกระบอกฉีดยาสำหรับฉีด tuberculin
5. น้ำยายับยั้งเชื้อ เช่นแอลกอฮอล์ 70 %
6. สำลีปลอดเชื้อบรรจุในภาชนะปลอดเชื้อ
7. ปากคีบปลอดเชื้อ
8. ชามรูปไต 1 ใบ
9. ถาดใส่เครื่องใช้หรือรถเข็น

ตำแหน่งที่ฉีดยา
•ท้องแขนด้านหน้า
• หน้าอกส่วนบน
• ส่วนหลังใต้กระดูกสะบัก

วิธีทำ
• ตรวจสอบบันทึกการให้ยา หรือการ์ดยาของผู้ป่วย กับคำสั่งการรักษา
• หยิบยาให้ตรงกับบันทึกการให้ยา หรือการ์ดยา ตรวจสอบยายังไม่หมดอายุ
• บอกให้ผู้ป่วยทราบ
• ล้างมือให้สะอาด
• เตรียมยาฉีดตามหลักการปลอดเชื้อ
• เลือกตำแหน่งที่ฉีดยา หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีรอยถลอก อักเสบ ช้ำ บวมหรือรอยแผลเป็น
• เช็ดบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % เช็ดเป็นวงกลมจากตรงกลางออกมาด้านนอก
• ถอดปลอกเข็มออก
• ขณะที่รอให้แอลกอฮอล์แห้ง ไล่อากาศในกระบอกฉีดยาโดยจับกระบอกฉีดยาให้ตั้งตรง ค่อยๆ ดันลูกสูบจนกระทั่งเห็นยา
เข้าไปอยู่ในหัวเข็ม ตรวจสอบจำนวนยาให้ถูกต้อง
• ดึงผิวหนังเหนือบริเวณที่จะฉีดยาให้ตึง หงายปลายเข็มขึ้นทำมุม 10-15 องศา กับผิวหนังแทงเข็มเข้าไปในผิวหนังถึงชั้นหนังแท้
• ดันยาเข้าไปในผิวหนังผู้ป่วย ถ้ายาซึมออกมาแทงเข็มลึกเข้าไปอีกเล็กน้อย เมื่อดันยาเข้าไปจะเห็นตุ่มนูนขึ้น ถอนเข็มออกเล็กน้อย
• สังเกตอาการของผู้ป่วยที่อาจมีปฏิกิริยาต่อยา เช่น ไอ หอบ เหนื่อย ชีพจรเบาเร็ว หรือหมดสติ
• ถอนเข็มฉีดยาออก ห้ามกดหรือนวดบริเวณที่ฉีด เพราะจะทำให้ยากระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อ
• เก็บเครื่องใช้และทำความสะอาดให้ถูกวิธี
• ลงบันทึกในแผ่นบันทึกการให้ยา
• ประเมินสภาพผู้ป่วยบริเวณที่ฉีดยาภายใน 14 หรือ 48 ชั่วโมงโดยบันทึกเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นมิลลิเมตรบริเวณที่มีรอยแดงและแข็ง

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO