Friday, March 13, 2009

อาหารรสจัด ไม่ถูกโฉลกผู้ป่วยโรคกระเพาะ Peptic ulcer

โรคกระเพาะ (Peptic ulcer) มีสาเหตุหลักมาจากกรด และน้ำย่อยอาหารที่หลั่งออกมาแล้วไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร และความบกพร่องของเยื่อบุกระเพาะที่ไม่สามารถต้านทานกรดได้ดี ส่วนสาเหตุรองลงมา หรือปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะหนักขึ้น คือ ภาวะความเครียด วิตกกังวล คิดมาก
นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด
http://www.manageyourheartburn.com/images/endoscopy_peptic_ulcer.JPG
ปัจจัยส่งเสริมอีกประการหนึ่งคือ อุปนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี เช่น การรับประทานอย่างรีบเร่ง รับประทานไม่เป็นเวลา อดอาหารบางมื้อ และการรับประทานสารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะ
และลำไส้ เช่น ดื่มน้ำชากาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีสารกาเฟอีน(caffeine) มาก
การสูบบุหรี(tobacco) ดื่มเหล้า(alcohol ) เบียร์ (Beer) เป็นประจำ ยาบางชนิดก็ทำให้เกิด
โรคกระเพาะได้ เช่น ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน(aspirin) ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ
ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์(steroid) การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ
ที่กล่าวมานี้จะช่วยลดความเสี่ยงได้

ข้อปฏิบัติแรกสุดที่คนเป็นโรคกระเพาะ (Peptic ulcer) และเราทุกคนควรทำคือ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เมื่อถึงเวลาควรหาอาหารรับประทานทันที เพื่อให้กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาได้ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร แทนที่จะไปกัดทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ และในขณะรับประทานอาหารควรดื่มน้ำบ้าง เพื่อช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารดีขึ้น และควรดื่มน้ำมากๆ ระหว่างมื้อ ให้ได้วันละ 8 -10 แก้ว

ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อไม่ควรมาก เพื่อให้การทำงานของกระเพาะและลำไส้ ในการย่อยแต่ละครั้งไม่ทำงานหนักจนเกินไป คนเป็นโรคกระเพาะจึงอาจแบ่งเป็น 3 มื้อ และมีอาหารว่างระหว่างมื้อ เพื่อไม่ให้ท้องว่างนาน การรับประทานแต่ละครั้งก็ให้แต่พออิ่ม เมื่อหิวจึงรับประทานใหม่ แต่ไม่ควรรับประทานจุบจิบหรือถี่จนเกินไป นอกจากนี้หลังรับประทานอาหารแต่ละครั้ง ควรอยู่ในท่านั่งหรือยืนไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้อย่างดีที่สุด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร
ก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

อาหารที่รับประทานควรครบหมวดหมู่ และเลือกอาหารที่ย่อยง่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงจำพวกอาหารทอด อาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก สำหรับเนื้อสัตว์
ควรปรุงให้สุก เพราะเนื้อสัตว์ที่ดิบๆ สุกๆ จะย่อยได้ยาก เนื้อสัตว์จำพวก ปลา กุ้ง ไก่ จะย่อย
ได้ง่ายกว่า ระหว่างที่เป็นโรคกระเพาะจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสเต๊กชิ้นใหญ่ๆ

คนเป็นโรคกระเพาะควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นน้ำย่อย ได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
หวานจัด ของดอง น้ำอัดลม น้ำชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลังที่มีสารกาเฟอีน อาหารที่แข็งหรือมีกากมาก ตลอดจนอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด อาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตน้ำย่อยมากขึ้น

สำหรับผู้ที่นิยมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรงดหรือลดปริมาณการดื่มเหล้า(alcohol) เบียร์(Beer) ไวน์ลง และไม่ควรดื่มก่อนอาหารหรือขณะที่ท้องว่างอย่างเด็ดขาด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร (Epithelium) คนเป็นโรคกระเพาะที่สูบบุหรี่ควรพยายามลดหรือเลิกสูบบุหรี่ เพราะทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าลง และมีโอกาสเกิดเป็นแผลซ้ำใหม่ได้ง่ายกว่าคนไม่สูบบุหรี่

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO